รับงานเสาเข็มเจาะทั่วประเทศ พร้อมทีมงานที่ได้มาตรฐาน มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี
ลักษณะทั่วไป
หน้าที่ของเสาเข็ม คือ การถ่ายแรงกระทำตามแกน แรงกระทำทางข้าง แรงบิด และโมเมนต์ดัดลงสูชั้นดิน หรือชั้นหินที่อยู่รอบ และใต้เสาเข็ม เพื่อที่จะทำหน้าที่นี้ เสาเข็มจะเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างดินหรือหินรอบ เสาเข็ม และโครงสร้างที่อยู่เหนือเสาเข็ม ความสัมพันธ์ระหว่างเสาเข็มต่อชั้นดินเป็นตัวแปรที่สำคัญ ประการหนึ่งในการออกแบบเสาเข็ม ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเสาเข็มนั้นไมสามารถใช้ทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งให้คลอบคลุมไดทั้งหมดดังนั้นจึงต้องตั้ง สมมุติฐานบางประการขึ้นมาอย่างไรก็ตามในการออกแบบนั้นจะต้องคำนึงถึงการก่อสร้างประกอบด้วย
ชนิดของเสาเข็มเจาะ
เพื่อความสะดวกจึงจำแนกเสาเข็มเป็นประเภทตามลักษณะของแรงที่ถ่ายลงสู่ดินหรือหิน และตาม พฤติกรรมของเสาเข็มที่ตอบสนองต่อแรงกระทำด้านข้าง
3.3.1 เสาเข็มรับแรงในแนวดิ่ง (Axially Supported Piers) เสาเข็มที่รับแรงในแนวดิ่งจำแนกได้ เป็น 3 ประเภท ได้แก่
(1) เสาเข็มถ่ายแรงสู่ปลาย (Bearing Type Pier) เป็นเสาเข็มที่มีลักษณะตรง ซึ่งก่อสร้างลงในชั้นดินอ่อน และมีปลายอยู่ในชั้นดินที่มี กำลังแบกทาน (Bearing capacity) สูงจนทำให้กำลังต้านทานของเสาเข็มส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ ปลาย
(2) เสาเข็มถ่ายแรงสู่ปลาย และผิว (Combination Bearing and Side Resistance Type Pier) เป็นเสาเข็มที่ฝังลงในชั้นดินที่ทำให้แรงต้านแรงกระทำบางส่วนเกิดจากผิวด้านข้างของเสาเข็มที่ สัมผัสกับดิน และแรงต้านบางส่วนถ่ายลงสู่ปลายเสาเข็ม
(3) เสาเข็มถ่ายแรงสูผิว (Side Resistance Type Pier) เป็นเสาเข็มที่ฝังลงในชั้นดินที่ทำให้แรงต้านแรงกระทำส่วนใหญ่เกิดจากผิวด้านข้างของเสาเข็ม ที่สัมผัสกับดิน เนื่องจากกำลังแบกทานที่ปลายเสาเข็มนั้นต่ำมากหรือไม่น่าเชื่อถือ ตัวอย่างเช่น เสาเข็มที่ไมมีการทำความสะอาดก้นหลุมก่อนการเทคอนกรีต
3.3.2 เสาเข็มรับแรงกระทำด้านข้าง (Laterally Loaded Piers) เมื่อคำนึงถึงการตอบสนองต่อแรงกระทำต่อเสาเข็มจะจำแนกเสาเข็มได้เป็น 2 ประเภท
(1) เสาเข็มแข็งเกร็ง (Rigid Pier) เป็นเสาเข็มที่สั้น และมีสติฟเนสสูงเมื่อเทียบกับดินรอบเสาเข็ม การเคลื่อนตัวหลักของเสาเข็มจะเป็นการหมุนรอบจุดบนเสาเข็ม หรือการเลื่อนทางข้างของเสาเข็ม การต้านการหมุนของ เสาเข็มสติฟเนสสูงถูกควบคุมโดยรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างแรงกับการเคลื่อนตัวของดิน โดยรอบและดินใต้เสาเข็ม และยังถูกควบคุมโดยการยึดรั้ง (ถ้ามี) จากโครงสร้างเหนือเสาเข็ม
(2) เสาเข็มยืดหยุ่น (Flexible Pier) เสาเข็มที่มีความยาวมากพอ และมี Flexural Rigidity ( EI ) ที่ทำให้การแอ่นตัวของเสาเข็มส่วน ใหญ่เกิดจากแรงดัด